วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เกร็ดความรู้ในการเติมลมยางรถยนต์


ยางรถยนต์เปรียบเสมือนเกราะกันกระแทกระหว่างระยนต์และพื้นถนน  เพื่อให้รถยนต์สามารถขับเคลื่อนได้  ยางทุกเส้นจึงต้องได้รับการเติมลมก่อนใช้งานและควรรักษาระดับความดันลมยาง ให้ไกล้เคียงกับที่โรงงานผู้ผลิตกำหนด  อย่างไรก็ตามความดันลมยางจะลดลงหลังจากการใช้งาน  ดังนั้นจึงควรเช็คระดับความดันลมยางอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อยืดอายุการใช้งานของยางรถคุณ


เติมลมเมื่อยางเย็น                               
ควรเช็คลมยางในขณะที่ยางเย็น  หรือก่อนการใช้งาน  ทั้งนี้เมื่อล้อเริ่มหมุนยางจะเกิดการเปลี่ยนรูป  ทำให้อากาศภายในเกิดการเคลื่อนไหวจนทำให้เกิดความร้อนขึ้น อากาศภายในยางขยายตัวความดันลมจะเพิ่มสูงขึ้นในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเติม ลมหลังใช้งานแล้ว การเติมลมเพิ่มขึ้นอีก 2ปอนด์เพื่อชดเชยความดันอากาศที่ขยายตัว
ใส่ฝาวาล์วยางให้สนิท
ควรตรวจเช็ฝาวาล์วยางให้สนิท  เพื่อป้องกันเศษผง  ฝุ่น  หรือความชื้นซึมผ่านเข้าภายในยาง  ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อยางรถยนต์ได้
การสูบลมยาง
1.   ตรวจเช็คลมยางขณะที่ยางยังเย็นอยู่หรือในช่วงเวลาก่อนออกเดินทางและปรับแต่ง ให้ถูกต้องตามอัตราที่โรงงาผู้ผลิตรถยนต์กำหนดเป็นประจำ
2.  ในกรณียางใหม่  ให้เพิ่มความถี่ในการตรวจเช็คลมยางให้มากกว่าปกติ (ในช่วง 3,000 กม. แรก)  เนื่องจากโครงยางในช่วงนี้จะมีการขยายตัวทำให้ความดันลมยางลดลง
3.   ห้ามปล่อยลมยางออก  เมื่อความดันลมยางสูงขึ้นในขณะกำลังใช้งานเพราะความร้อนที่เกิดขึ้นขณะที่ ใช้งานเป็นตัวทำให้ความดันลมภายในยางสูงขึ้น
4.   เพื่อป้องกันลมรั่วซึมที่วาล์ว  ควรเปลี่ยนวาล์วและแกนวาล์วทุกครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่และมีฝาปิดวาล์วตลอดเวลา
5.   สำหรับยางอะไหล่  ให้ตรวจเช็คลมยางให้ถูกต้องทุกครั้งอยู่เสมอ
6.   ในกรณีรถเก๋งที่ขับด้วยความเร็วสูง  ให้เติมลมยางให้มากกว่าปกติ  3-5  ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
ตรวจเช็คความดันลมยางอย่างน้อยเดือนละครั้ง
ควรตรวจเช็คความดันลมยางของรถ  ให้อยู่ระดับที่ผู้ผลิตกำหนดเพื่อให้หน้ายางสัมผัสกับผิวถนนได้อย่างสม่ำ เสมอ  โดยปกติโรงงานประกอบรถยนต์จะระบุระดับความดันลมยางที่เหมาะสมกับรถไว้บนแผ่น โลหะบริเวณขอบประตูหรือกำหนดในคู่มือประจำรถ  การเติมลมยางที่ถูกต้องนอกจากจะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว  ยังช่วยยืดอายุการใช้งานได้แก่รถคุณด้วย  นอกจากนี้การเติมรถยางที่ไม่เท่ากัน  จะส่งผลให้รถยนต์เสียการทรงตัวเมื่อเบรคหยุดหรือเร่งความเร็ว  หรือรถถูกดึงไปด้านใดด้านหนึ่งขณะขับและทำให้ยางสึกไม่เท่ากันด้วย
การเติมลมยางมากเกินไป
ทำให้หน้าสัมผัสของยางกับพื้นผิวถนนลดลง  ดอกยางบริเวณกลางจะสึกมากกว่าด้านข้างทั้งสอง  และเนื่องจากความยืดหยุ่นของยางลดลงทำให้โครงสร้างผ้าใบเสียหายได้ง่าย  และยังทำให้รถกระดอนเมื่อวิ่งบนถนนขรุขระ
การเติมลมยางน้อยไป
ทำให้ดอกยางไม่เรียบ  โดยดอกยางบริเวณไหล่ยางจะสึกเร็วกว่าบริเวณกลางยาง  เกิดความร้อนสูงขณะยางเปลี่ยนรูปและแรงกระแทกจะทำให้โครงสร้างผ้าใบเสียหาย  และไม่สามารถคืนกลับสภาพเดิม
กรณีสูบลมยางน้อยกว่ากำหนด (TIP) -  อายุยางลดลง
     -  บริเวณไหล่ยางจะสึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น ๆ
     -  เกิดความร้อนสูงที่บริเวณไหล่ยาง  ทำให้ผ้าใบหรือเนื้อยางไหม้แยกออกจากัน
     -  โครงยางบริเวณแก้มยางฉีกขาด  หรือหักได้
     -  สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
     -  เนื้อยางบริเวณหน้ายางจะฉีกขาดได้ง่าย  ถ้าวิ่งด้วยความเร็วสูงมากกว่า  100 กม./ชม.
กรณีสูบลมยางมากกว่ากำหนด
      -  เกิดการลื่นไถลได้ง่าย  เนื่องจากพื้นที่การยึดเกาะถนนลดลง
    -  โครงยางระเบิดได้ง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทก  หรือถูกของมีคมตำเนื่องจากโครงยางเบ่งตัวเต็มที่เกิดการยืดหยุ่นตัวได้น้อย ดอกยางจึงสึก  บริเวณตอนกลางมากกว่าส่วนอื่น ๆ
    -  อายุยางลดลง
    -  ความนุ่มนวลในการขับขี่ลดลง
เช็คลมยางอย่างไรให้ถูกต้อง
ลมยางจะลดลงโดยตัวมันเองประมาณ  2-3 ปอนด์ต่อตารางนิ้วต่อเดือน  ดังนั้นจึงควรเช็คลมยางอย่างน้อยเดือนละครั้ง  ขณะที่ยางยังเย็นอยู่  โดยเติมลมยางตามคู่มือรถแต่ละคันที่ติดอยู่ที่ข้างประตูรถ

การบรรทุกของหนัก
น้ำหนักบรรทุกมีผลอย่งมากต่ออายุของยาง  จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องควบคุมน้ำหนักบรรทุกให้มีความสัมพันธ์กับความ ดันลมภายในยาง  และไม่ควรเติมความดันลมยางให้มากกว่าที่กำหนด  เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักของยางให้มากขึ้น  เพราะการเพิ่มความดันลมยางมากขึ้นจะมีผลต่อยางดังที่กล่าวมาแล้ว

ในกรณีที่บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา 
โครงยางบริเวณแก้มยาง  หรือขอบยางหักหรือระเบิดได้ง่ายเนื่องจากรับน้ำหนักที่กดลงมาไม่ไหว
ความร้อนภายในยางจะเกิดขึ้นสูงมาก  ทำให้การยึดเกาะระหว่างเนื้อยางกับโครงยางลดลง  และแยกออกจากกันได้ง่าย
การเคลื่อนไหวของหน้ายางมีมาก  ทำให้ยางสึกหรอเร็วและทำให้อายุยางลดลง
การสลับตำแหน่งยาง
ยางรถยนต์จะเกิดการสึกหรอไม่เท่ากันทุกเส้น  โดยมีสาเหตุจาก
สภาพรถ
สภาพผิวถนน                        
ศูนย์ล้อ
การหักเลี้ยวของรถ
การสูบลมยาง
ตำแหน่งยาง
ลักษณะการขับขี่
ฤดูกาล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่งล้อหน้าจะเกิดการสึกผิดปกติของดอกยางง่ายที่สุด ดังนั้น เพื่อให้ยางมีอายุการใช้งานได้นาน  ควรสลับตำแหน่งยางอยู่เสมอ (ยางเรเดียล ควรสลับตำแหน่งยางทุก 10,000 กม.)